วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ความเป็นมา
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเอเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชวาพระองค์นี้ทรงนำความเจริญให้แก่ชาวชวา ซึ่งพระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครอง และพระองค์ทรงมี พระราชธิดา ๑ พระองค์ และพระราชโอรส ๒ พระองค์ เมื่อพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงเสด็จออกผนวช จึงได้แบ่งราชอาณาจักรเป็น ๒ ส่วน คือกุเรปัน และ ดาหา
ต่อมาท้าวกุเรปันได้ทรงมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง และท้าวดาหาทรงมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระนามว่า อิเหนาและบุษบา เมื่อเจริญพระชันษา อดีตพระราชธิดาของกษัตริย์พระองค์เดิมที่เสด็จออกผนวช จึงมีพระดำริให้อิเหนาและบุษบาอภิเษกกัน เพื่อให้กุเรปันและดาหากลับมารวมกันเป็นราชอาณาจักรเดียวกันดั่งเดิม
เนื่องจากนิทานอิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏเป็นหลายสำนวน และเมื่อได้เข้ามาสู่ประเทศไทย มีคำกล่าวสืบเนื่องกันมาว่าพระราชิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับเจ้าฟ้าสังวาล  คือ  เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฟังนิทานอิเหนาจากนางกำนัลชาวมลายูที่ได้มาจากเมืองปัตตานี  พระราชธิดาทั้งสองพระองค์จึงมีพระราชธิดาจึงมีพระราชนิพนธ์ขึ้นนิทานเรื่องนี้ขึ้น เจ้าฟ้ากุณฑลทรงนิพนธ์บทละครเรื่องของดาหลัง ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงนิพนธ์เป็นละครเรื่อง  อิเหนา  แต่คนทั่วไปมักเรียกบทพระราชนิพนธ์ของทั้งสองพระองค์นี้ว่า อิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก  นิทานปันหยีของไทยจึงมี ๒ สำนวนแต่นั้นมา
สมัยรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม แล้วพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ

ลักษณะคำประพันธ์
                บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ มาจะกล่าวบทไปโดยคำว่าเมื่อนั้น ใช้กับตัวเอกของเรื่องหรือตัวละครที่เป็นกษัตริย์ และคำว่า บัดนั้นใช้กับตัวละครสามัญ และคำว่า ”มาจะกล่าวบทไป” ใช้เมื่อขึ้นตอนหรือเนื้อความใหม่
                สำหรับจำนวนคำในแต่ละวรรค อาจมีไม่เท่ากันเพราะต้องให้เหมาะสมกับท่ารำและทำนองเพลง นอกจากนี้ยังต้องมีการกำหนดเพลงหน้าพาทย์สำหรับประกอบกิริยาอาการตัวละคร
แผนผังและตัวอย่างบทละคร
              บัดนั้น                                                   ดะหมังผู้มียศถา
 นับนิ้วบังคมคัลวันทา                                       ทูลถวายสาราพระภูมี
                     เมื่อนั้น                                                  ระตูหมันหยาเรืองศรี
            รับสารมาจากเสนี                                             แล้วคลี่ออกอ่านทันใด

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559





อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง 

จัดทำโดย

นายนราธิป   กี้ฮั้ว  เลขที่ 5

น.ส.กฤติพร    ช่วงแย้ม  เลขที่ 11
น.ส.ชนัญญา   มารื่น  เลขที่ 13
น.ส.อริสา   กลัดนาคะ  เลขที่ 20
น.ส.ฐิติรัตน์   นามบุญ   เลขที่ 23
นายกฤษฏ์    ลิ้มตรีรัตนา  เลขที่ 28
นายปิยธร   วรรณเวก  เลขที่ 29
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คําราชาศัพท์

 หมวดกิริยา
พระราชดำรัส หมายถึง คำพูด
ตรัส หมายถึง พูดด้วย
เสด็จพระราชดำเนิน หมายถึง เดินทางไปที่ไกล ๆ
เสด็จลง… หมายถึง เดินทางไปที่ใกล้ ๆ
ทรงพระราชนิพนธ์ หมายถึง แต่งหนังสือ
ทรงพระกาสะ หมายถึง ไอ
ทรงพระสรวล หมายถึง หัวเราะ
ทรงพระปรมาภิไธย หมายถึง ลงลายมือชื่อ
ทรงสัมผัสมือ หมายถึง จับมือ
ทรงพระเกษมสำราญ หมายถึง สุขสบาย
ทรงพระปินาสะ หมายถึง จาม
พระราชโองการ หมายถึง คำสั่ง
พระราโชวาท หมายถึง คำสั่งสอน
พระราชปฏิสันถาร หมายถึง ทักทาย
มีพระราชประสงค์ หมายถึง อยากได้


หลักการอ่านออกเสียง

โดยลักษณะของภาษาไทย ต่างกับภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย กล่าวคือภาษาไทยเป็นภาษารูปคำโดด เมื่อเอามาต่อกันแล้วคำที่ต่อกัน นั้น ทุกคำยังคงเป็นอิสระอยู่ในตัวไม่ผูกพันกับคำอื่น และโดยปรกติเสียงของคำก็ยังคงอยู่ตามเดิม ไม่เปลี่ยนหรือแปลงเสียงของคำ ให้แปลกออกไปเหมือนภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย

ดังนั้น เมื่อเราได้ภาษามีวิภัตติปัจจัยเข้ามาใช้ ผู้ที่ไม่รู้เรื่องการออกเสียงภาษา\มีวิภัตติปัจจัย ออกเสียงอย่างลักษณะคำไทย เช่น อุบัติเหตุก็ออกเสียงว่า อุบัดเหตุ แต่ในหมู่ผู้รู้ลักษณะการออกเสียงภาษามีวิภัตติปัจจัย จะอ่านว่า อุบัดติเหตุ ตามลักษณะการออกเสียงคำในภาษามีวิภัตติปัจจัย อ่านเพิ่มเติม