วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559





อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง 

จัดทำโดย

นายนราธิป   กี้ฮั้ว  เลขที่ 5

น.ส.กฤติพร    ช่วงแย้ม  เลขที่ 11
น.ส.ชนัญญา   มารื่น  เลขที่ 13
น.ส.อริสา   กลัดนาคะ  เลขที่ 20
น.ส.ฐิติรัตน์   นามบุญ   เลขที่ 23
นายกฤษฏ์    ลิ้มตรีรัตนา  เลขที่ 28
นายปิยธร   วรรณเวก  เลขที่ 29
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คําราชาศัพท์

 หมวดกิริยา
พระราชดำรัส หมายถึง คำพูด
ตรัส หมายถึง พูดด้วย
เสด็จพระราชดำเนิน หมายถึง เดินทางไปที่ไกล ๆ
เสด็จลง… หมายถึง เดินทางไปที่ใกล้ ๆ
ทรงพระราชนิพนธ์ หมายถึง แต่งหนังสือ
ทรงพระกาสะ หมายถึง ไอ
ทรงพระสรวล หมายถึง หัวเราะ
ทรงพระปรมาภิไธย หมายถึง ลงลายมือชื่อ
ทรงสัมผัสมือ หมายถึง จับมือ
ทรงพระเกษมสำราญ หมายถึง สุขสบาย
ทรงพระปินาสะ หมายถึง จาม
พระราชโองการ หมายถึง คำสั่ง
พระราโชวาท หมายถึง คำสั่งสอน
พระราชปฏิสันถาร หมายถึง ทักทาย
มีพระราชประสงค์ หมายถึง อยากได้


หลักการอ่านออกเสียง

โดยลักษณะของภาษาไทย ต่างกับภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย กล่าวคือภาษาไทยเป็นภาษารูปคำโดด เมื่อเอามาต่อกันแล้วคำที่ต่อกัน นั้น ทุกคำยังคงเป็นอิสระอยู่ในตัวไม่ผูกพันกับคำอื่น และโดยปรกติเสียงของคำก็ยังคงอยู่ตามเดิม ไม่เปลี่ยนหรือแปลงเสียงของคำ ให้แปลกออกไปเหมือนภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย

ดังนั้น เมื่อเราได้ภาษามีวิภัตติปัจจัยเข้ามาใช้ ผู้ที่ไม่รู้เรื่องการออกเสียงภาษา\มีวิภัตติปัจจัย ออกเสียงอย่างลักษณะคำไทย เช่น อุบัติเหตุก็ออกเสียงว่า อุบัดเหตุ แต่ในหมู่ผู้รู้ลักษณะการออกเสียงภาษามีวิภัตติปัจจัย จะอ่านว่า อุบัดติเหตุ ตามลักษณะการออกเสียงคำในภาษามีวิภัตติปัจจัย อ่านเพิ่มเติม